เบื้องหลัง ของ เหตุจลาจลในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2554

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

มีผู้สื่อข่าวคนหนึ่งอธิบายว่าเป็น "ความไม่สงบประเภทนี้ครั้งเลวร้ายที่สุดตั้งแต่เหตุจลาจลบริกซ์ตัน พ.ศ. 2538[9] ผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นแสดงความคิดเห็นว่า ความไม่สงบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างตำรวจกับชุมชนผิวดำในกรุงลอนดอน[21] เช่นเดียวกับอีกหลายนครที่มีประชากรชนชั้นกรรมกรอยู่มาก อย่างเช่น เบอร์มิงแฮม ซึ่งมีการจัดการประท้วงจากการเสียชีวิตของคิงสลีย์ บูร์เรลล์[22][23] อย่างไรก็ตาม อีกแหล่งข่าวหนึ่งได้ชี้ว่า ผู้ก่อการจลาจลมีเบื้องหลังชาติพันธุ์หลากหลาย[24] และผู้ก่อการจลาจล "ส่วนใหญ่เป็นพวกผิวขาว และหลายคนมีอาชีพ"[25]

นักวิเคราะห์ได้เปรียบเทียบการจลาจลกับการจลาจลบรอดวอเตอร์ฟาร์มใน พ.ศ. 2528 ซึ่งระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ คีธ แบลคลอค ถูกฆาตกรรม[26][27] ความไม่สงบเกิดขึ้นหลังการเรียกร้องการเรียกร้องให้มีการควบคุมดูแลที่ดีขึ้นของตำรวจนครบาล ซึ่งย้ำการสังเกตซึ่งย้อนกลับไปสู่การฆาตกรรมสตีเฟน ลอว์เรนซ์ และนิวครอสไฟร์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[28] มีการเดินขบวนอย่างสงบไปยังสกอตแลนด์ยาร์ด อันเป็นผลจากการเสียชีวิตของสไมลีย์ คัลเจอร์ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวมีรายงานเพียงเล็กน้อย[29]

นักวิเคราะห์ให้เหตุผลว่าสาเหตุของการจลาจลนั้นมีปัจจัยรวมไปถึงความยากจนและอัตราว่างงานที่สูง ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างคนรวยกับคนจน วัฒนธรรมแก๊ง[30][31] และการเลื่อนชั้นทางสังคมที่ต่ำที่สุดในประเทศพัฒนาแล้ว[32][33][34]

เขตเฮลเรนอีย์และแฮคนี

ท็อตแนมมีประชากรพหุวัฒนธรรม โดยมีคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ ท็อตแนมเป็นแห่งหนึ่งที่มีประชากรแอฟริกา-แคริบเบียนขนาดใหญ่และสำคัญที่สุด ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น อย่างเช่น ชาวโคลอมเบีย, ยุโรปตะวันออก, เคิร์ด, ตุรกี-ไซปรัส, เติร์ก, โซมาเลียและไอริชเองก็เป็นประชากรท้องถิ่นเช่นกัน ท็อตแนมใต้มีรายงานว่าเป็นพื้นที่ที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุดในยุโรป โดยมีผู้อยู่อาศัยพูดถึง 300 ภาษา[35]

ตามข้อมูลของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ เดวิด แลมมี ท็อตแนมมีอัตราการว่างงานสูงที่สุดในกรุงลอนดอนและสูงเป็นอันดับแปดในทั้งสหราชอาณาจักร และมีอัตราความยากจนสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ[36] จำนวนผู้ที่ตามหาตำแหน่งงานว่างในเฮลเรนอีย์ระบุไว้ที่ 23 คน และ 54 คนในบางรายงาน และยังมีความกลัวว่าความวุ่นวายจะแพร่ขยาไปหลังสโมสรเยาวชนถูกปิดในช่วงเดือนที่ผ่านมา[32][37][38]

นอกจากนี้ยังมีความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ที่สำคัญระหว่างชุมชนแอฟริกา-แคริบเบียน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท้องถิ่น เดวิด แลมมี ระบุว่า "รอยร้าวระหว่างตำรวจและชุมชนได้กลายเป็นร่องลึก"[27]

เหตุวิสามัญฆาตกรรมมาร์ค ดักแกน

เฟอร์รีเลน ท็อตแนมเฮล สถานที่เกิดเหตุวิสามัญฆาตกรรม

เหตุตำรวจวิสามัญฆาตกรรมชายวัย 29 ปี ชื่อว่า มาร์ค ดักแกน ผู้ต้องหาผู้ค้าโคเคนชนิดผลึก (crack cocaine) และสมาชิกของ "สตาร์แก๊ง" ซึ่งว่ากันว่ากำลังถือปืนพกกระสุนเปล่าดัดแปลงซึ่งได้ถูกดัดแปลงให้สามารถยิงกระสุนจริงได้ เกิดขึ้นระหว่างการวางแผนจับกุมเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554 บนสะพานเฟอร์รีเลน ติดกับสถานีท็อตแนมเฮล[39][40][41][42]

เหตุการณ์ดังกล่าวถูกพูดถึงคณะกรรมการอิสระรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตของตำรวจ (IPCC)[39] ซึ่งเป็นการปฏิบัติทั่วไปเมื่อมีสาธารณชนเสียชีวิตอันเป็นผลจากการกระทำของตำรวจ[43] ยังไม่เป็นที่ทราบว่าเหตุใดตำรวจจึงพยายามเข้าจับกุมดักแกน แต่ IPCC ว่า การวางแผนจับกุมเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการตรีศูล หน่วยซึ่งสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมปืนในกรุงลอนดอน ปฏิบัติการตรีศูลมีความชำนาญในการต่อสู้กับอาชญากรรมปืนที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย[10]

เพื่อนและญาติของดักแกนอ้างว่าเขาไม่มีอาวุธ[12] IPCC ระบุว่า ดักแกนมีปืนพกที่มีกระสุน[44][45] และไม่มีหลักฐานว่าดักแกนยิงเข้าใส่ตำรวจ[46] หลังเหตุยิงกันดังกล่าว สื่อได้รายงานอย่างกว้างขวางว่าพบปลอกกระสุนฝังอยู่ในวิทยุตำรวจ ซึ่งส่อว่าดักแกนยิงเข้าใส่ตำรวจ[47]

การเดินขบวนประท้วง

วันที่ 6 สิงหาคม มีการจัดการเดินขบวนประท้วง ซึ่งเดิมเป็นไปโดยสันติ เริ่มที่บรอดวอเตอร์ฟาร์ม และสิ้นสุดที่สถานีตำรวจท็อตแนม[48] การเดินขบวนดังกล่าวจัดโดยเพื่อนและญาติของดักแกนผู้ร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ครอบครัว[10][49][50] กลุ่มที่มีอยู่ประมาณ 200 คน ที่เดินขบวนมายังสถานีตำรวจนั้น รวมไปถึงผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและสมาชิกครอบครัวดักแกน ซึ่งต้องการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นอาวุโส พวกเขาอยู่หน้าสถานีตำรวจหลายชั่วโมงนานกว่าที่วางแผนไว้เพราะไม่พอใจกับท่าที่ตอบสนองของตำรวจต่อคำถามของพวกเขา ตามข้อมูลของพยาน ฝูงชนที่หนุ่มกว่าและก้าวร้าวกว่ามาถึงที่เกิดเหตุช่วงค่ำ และมีบางคนถืออาวุธด้วย ความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อมีข่าวลือว่าตำรวจทำร้ายเด็กหญิงวัย 16 ปีคนหนึ่ง[9][21]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุจลาจลในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2554 http://www.theaustralian.com.au/news/world/police-... http://www.channel4.com/news/police-failed-miserab... http://www.channel4.com/news/police-patrol-tottenh... http://www.channel4.com/news/unrest-spreads-to-lee... http://edition.cnn.com/2011/WORLD/europe/08/11/ukr... http://worldblog.msnbc.msn.com/_news/2011/08/07/72... http://www.msnbc.msn.com/id/44091979/ns/world_news... http://money.uk.msn.com/news/uk-economy/photos.asp... http://uk.reuters.com/article/2011/08/11/uk-britai... http://news.sky.com/home/uk-news/article/16046035